Teaching Thai

Teaching Thai
Rapin Chuchuen

Tuesday, January 17, 2012

งานวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 2/ 2554

สวัสดีนักเรียนทุกคน
         ตามที่ครูได้โทรแจ้งผู้ปกครองนักเรียนเรื่องการไม่ส่งงานของนักเรียนไปแล้วนั้น ผู้ปกครองหลายท่าน ต้องการทราบว่างานแต่ละชิ้นมีอะไรบ้างและมีวิธีการทำอย่างไร ครูเชื่อว่านักเรียนสามารถอธิบายให้ผู้ปกครองทราบได้ว่างานแต่ละชิ้นทำอย่างไร แต่เพื่อความสะดวกและความถูกต้อง ครูจึงขอนำรูปแบบและวิธีการทำชิ้นงานทั้ง ๑๐ ชิ้นงานขึ้น เว็ปไซต์ให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบอีกครั้ง


ชิ้นงานที่ 1 : บทความหรือจดหมายวันปิดเทอม


รูปแบบ ให้นักเรียนเขียนบทความหรือจดหมาย เกี่ยวกับเรื่องวันปิดเทอม ว่านักเรียนไปทำอะไรมาบ้าง มีกิจกรรมหรือเหตุการณ์ใดที่ประทับใจและอยากเล่าให้เพื่อนฟัง เน้นการเขียนแบบความเรียง






ชิ้นงานที่ ๒ : สำนวนจากสื่อ


รูปแบบ ให้นักเรียนหาข่าวหรือนิทานหรือบทละครโทรทัศน์ แล้วให้นักเรียนหาสำนวนจากเรื่องที่อ่านว่าในข่าวนั้น มีเหตุการณ์ตรงกับสำนวนใด






ชิ้นงานที่ ๓ : โวหารจากบทเพลง


รูปแบบ ให้นักเรียนหาเพลงที่ชอบฟัง แล้วมาระบุว่า เพลงนั้นมีโวหารประเภทใดประกอบบ้าง พร้อมทั้งยกตัวอย่างออกมาให้ชัดเจน






ชิ้นงานที่ ๔ : ใบเลือกอ่านหนังสือ


รูปแบบ ให้นักเรียนเลือกหนังสืออ่านนอกเวลา ๑ เรื่อง มีความหนาไม่ต่ำกว่า ๑๘๐ หน้า แล้วนักเรียนก็เขียนใบเลือกอ่านหนังสือมาส่งครู






ชิ้นงานที่ ๕ : ใบบันทึกการอ่าน


รูปแบบ ให้นักเรียนอ่านหนังสือนอกเวลาที่เลือกอ่าน แล้วบันทึกลงในใบบันทึกการอ่าน มีทั้งหมด ๑๔ หัวข้อ แล้วนำมาส่งครู ทั้งนี้นักเรียนต้องให้เหตุผลประกอบการอธิบาย หรือ ยกตัวอย่าง เหตุการณ์ ต่างๆ ในเรื่องที่อ่านประกอบ เช่น ชอบ ไม่ชอบ เพราะอะไร ทำไม






ชิ้นงานที่ ๖ : POP UP ศึกสายเลือด


รูปแบบ ให้นักเรียนเลือกบทกลอนที่ประทับใจจากวรรณคดีเรื่องศึกสายเลือด จำนวน ๒ บท จากนั้นให้หาภาพประกอบเหตุการณ์ตามบทกลอนที่เลือกมา พร้อมทั้งหาคำแปลของบทกลอนที่เลือก และหาคำศัพท์สำคัญจากบทกลอนที่อ่านจำนวน ๕ คำ พร้อมคำแปล








ชิ้นงานที่ ๗ : โวหารจากหนังสือที่อ่าน(หนังสือนอกเวลา)


รูปแบบ ให้นักเรียนหาโวหารจากหนังสือที่อ่าน (หนังสือนอกเวลา) ว่ามีโวหารประเภทใดบ้าง ให้นักเรียนยกตัวอย่างมาประกอบให้ชัดเจน ซึ่งในงานนี้นักเรียนจะผ่านการเรียน เรื่องสำนวน และโวหารแล้ว และลองพิจารณาดูว่าหนังสือ ที่เลือกอ่าน นั้นมีข้อความ หรือประโยคใด สะท้อนให้เห็นถึงโวหารบ้าง

หมายเหตุ นักเรียนบางคนไม่เห็นโวหาร ในหนังสือ เช่น 1.การพรรณาโวหาร ขอให้วิเคราะหืให้ได้ ว่าสิ่งที่ผู้แต่งเขียนไว้ สะท้อนให้เห็นความรู้สึกนีกคิด อารมณ์ของตัวละคร หรือไม่ ถ้ามีนั่นคือการพรรณนา ไม่จำเป็นต้องเป็นคำกลอนเสมอไป
2. การเทศนาโวหาร จะมาจากบทสรุปของเรื่อง ที่จะบอก หรือสอนเรา ว่าให้เป็นคนอย่างไร มีข้อคิด คติสอนใจ 






ชิ้นงานที่ ๘ : กลอนวันปีใหม่



รูปแบบ ให้นักเรียนแต่งกลอนแปดจำนวน ๒ บท เกี่ยวกับวันปีใหม่ และให้หาการ์ดวันปีใหม่หรือจะประดิษฐ์การ์ดขึ้นเองก็ได้ จากนั้นเขียนหรือพิมพ์กลอนลงในการ์ดแล้วนำมาส่งครู






ชิ้นงานที่ ๙ : จดหมายธุรกิจ


รูปแบบ ให้นักเรียนเขียนจดหมายธุรกิจสั่งซื้อหนังสืออ่านนอกเวลาจากบริษัทเจ้าของหนังสือที่นักเรียนอ่าน โดยระบุจำนวนหนังสือที่สั่งซื้อตามจำนวนนักเรียนในห้อง และบอกเหตุผลว่าทำไมถึงเลือกหนังสือเล่มนี้ พร้อมทั้งบอกข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสือที่เลือกด้วย รวมทั้งสอบถามถึงวิธีการจ่ายเงิน วิธีการส่งของ หรือ ราคาของสินค้า






ชิ้นงานที่ ๑๐ : สมุดมิตรภาพ


รูปแบบ ให้นักเรียนซื้อสมุด Friendship หรือจะทำเองก็ได้ แล้วนำมาออกแบบประวัติส่วนตัวให้น่าสนใจ ไม่เหมือนคนอื่น จากนั้นนำไปให้เพื่อนไม่ต่ำกว่า ๑๐ คนเขียนแสดงความรู้สึกต่อตัวเรา จากนั้นจึงนำมาส่งครู แต่ถ้าเป็นไปได้ น่าจะทำให้ครบทั้งห้องเพื่อจะได้เก็บไว้เป็นที่ระลึก
วิธีการนำมาส่ง 1. ขอให้ถ่ายเอกสารแผ่นหน้าที่เป็นตัวเรา และ
2. ถ่ายตัวอย่างของแผ่นในที่เป็นข้อความเขียนของเพื่อน(เลือกดีที่สุด) มา 1 คน  และอย่าลืมนำเล่มต้นฉบับมาด้วย (ครูจะส่งคืนหลังตรวจแล้ว แต่แผ่นเอกสารจะให้คะแนน และนักเรียนนำไปใส่ไว้ในแฟ้ม คืองานชิ้นที่ 10


ในกรณีที่นักเรียนอยากเขียนถึงครู อาจจะเขียนในหัวข้อ ๑ ปีที่มีครู เขียนเกี่ยวกับครุผู้สอนวิชาภาษาไทยก็ได้

การให้คะแนน ของครู จะมองที่รูปแบบของการเขียนข้อมูลแนะนำตนเอง  และการพูด หรือกล่าวถึงจุดประสงค์ ของการมีสมุดมิตรภาพ  งานเขียนของเพื่อน หรือ อาจารย์ ใน๑๐ คนเพื่อจะดู ว่านักเรียนได้รับข้อมูล ตามวัตถุประสงค์ หรือไม่ รวมทั้งความสดใส น่ารัก หรือ สำนวนที่มาจากงานเขียนที่เป็นธรรมชาติ ของนักเรียน
ตัวอย่างงาน

 
   


ขอให้นักเรียนตั้งใจทำงานและส่งงานให้ครบ เนื่องจากงานนี้จะเป็นคะแนนเก็บในวิชาภาษาไทยของนักเรียน ครูไม่อยากให้นักเรียนของครูได้คะแนนน้อยและไม่ผ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

ขอชื่นชมนักเรียนที่ทำงานครบและขยันอีกทั้งตั้งใจเรียนทุกคน ขอให้เป็นนักเรียนที่ดีและน่ารักของครต่อไป




                                                              รักและปรารถนาดี






                                                               ผศ.ระพิน ชูชื่น






                                                     อาจารย์ประจักษ์ น้อยเหนื่อย








งานวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 2/ 2554

สวัสดีนักเรียนทุกคน
         ตามที่ครูได้โทรแจ้งผู้ปกครองนักเรียนเรื่องการไม่ส่งงานของนักเรียนไปแล้วนั้น ผู้ปกครองหลายท่าน ต้องการทราบว่างานแต่ละชิ้นมีอะไรบ้างและมีวิธีการทำอย่างไร ครูเชื่อว่านักเรียนสามารถอธิบายให้ผู้ปกครองทราบได้ว่างานแต่ละชิ้นทำอย่างไร แต่เพื่อความสะดวกและความถูกต้อง ครูจึงขอนำรูปแบบและวิธีการทำชิ้นงานทั้ง ๑๐ ชิ้นงานขึ้น เว็ปไซต์ให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบอีกครั้ง


ชิ้นงานที่ 1 : บทความหรือจดหมายวันปิดเทอม


รูปแบบ ให้นักเรียนเขียนบทความหรือจดหมาย เกี่ยวกับเรื่องวันปิดเทอม ว่านักเรียนไปทำอะไรมาบ้าง มีกิจกรรมหรือเหตุการณ์ใดที่ประทับใจและอยากเล่าให้เพื่อนฟัง เน้นการเขียนแบบความเรียง






ชิ้นงานที่ ๒ : สำนวนจากสื่อ


รูปแบบ ให้นักเรียนหาข่าวหรือนิทานหรือบทละครโทรทัศน์ แล้วให้นักเรียนหาสำนวนจากเรื่องที่อ่านว่าในข่าวนั้น มีเหตุการณ์ตรงกับสำนวนใด






ชิ้นงานที่ ๓ : โวหารจากบทเพลง


รูปแบบ ให้นักเรียนหาเพลงที่ชอบฟัง แล้วมาระบุว่า เพลงนั้นมีโวหารประเภทใดประกอบบ้าง พร้อมทั้งยกตัวอย่างออกมาให้ชัดเจน






ชิ้นงานที่ ๔ : ใบเลือกอ่านหนังสือ


รูปแบบ ให้นักเรียนเลือกหนังสืออ่านนอกเวลา ๑ เรื่อง มีความหนาไม่ต่ำกว่า ๑๘๐ หน้า แล้วนักเรียนก็เขียนใบเลือกอ่านหนังสือมาส่งครู






ชิ้นงานที่ ๕ : ใบบันทึกการอ่าน


รูปแบบ ให้นักเรียนอ่านหนังสือนอกเวลาที่เลือกอ่าน แล้วบันทึกลงในใบบันทึกการอ่าน มีทั้งหมด ๑๔ หัวข้อ แล้วนำมาส่งครู ทั้งนี้นักเรียนต้องให้เหตุผลประกอบการอธิบาย หรือ ยกตัวอย่าง เหตุการณ์ ต่างๆ ในเรื่องที่อ่านประกอบ เช่น ชอบ ไม่ชอบ เพราะอะไร ทำไม






ชิ้นงานที่ ๖ : POP UP ศึกสายเลือด


รูปแบบ ให้นักเรียนเลือกบทกลอนที่ประทับใจจากวรรณคดีเรื่องศึกสายเลือด จำนวน ๒ บท จากนั้นให้หาภาพประกอบเหตุการณ์ตามบทกลอนที่เลือกมา พร้อมทั้งหาคำแปลของบทกลอนที่เลือก และหาคำศัพท์สำคัญจากบทกลอนที่อ่านจำนวน ๕ คำ พร้อมคำแปล








ชิ้นงานที่ ๗ : โวหารจากหนังสือที่อ่าน(หนังสือนอกเวลา)


รูปแบบ ให้นักเรียนหาโวหารจากหนังสือที่อ่าน (หนังสือนอกเวลา) ว่ามีโวหารประเภทใดบ้าง ให้นักเรียนยกตัวอย่างมาประกอบให้ชัดเจน ซึ่งในงานนี้นักเรียนจะผ่านการเรียน เรื่องสำนวน และโวหารแล้ว และลองพิจารณาดูว่าหนังสือ ที่เลือกอ่าน นั้นมีข้อความ หรือประโยคใด สะท้อนให้เห็นถึงโวหารบ้าง

หมายเหตุ นักเรียนบางคนไม่เห็นโวหาร ในหนังสือ เช่น 1.การพรรณาโวหาร ขอให้วิเคราะหืให้ได้ ว่าสิ่งที่ผู้แต่งเขียนไว้ สะท้อนให้เห็นความรู้สึกนีกคิด อารมณ์ของตัวละคร หรือไม่ ถ้ามีนั่นคือการพรรณนา ไม่จำเป็นต้องเป็นคำกลอนเสมอไป
2. การเทศนาโวหาร จะมาจากบทสรุปของเรื่อง ที่จะบอก หรือสอนเรา ว่าให้เป็นคนอย่างไร มีข้อคิด คติสอนใจ 






ชิ้นงานที่ ๘ : กลอนวันปีใหม่



รูปแบบ ให้นักเรียนแต่งกลอนแปดจำนวน ๒ บท เกี่ยวกับวันปีใหม่ และให้หาการ์ดวันปีใหม่หรือจะประดิษฐ์การ์ดขึ้นเองก็ได้ จากนั้นเขียนหรือพิมพ์กลอนลงในการ์ดแล้วนำมาส่งครู






ชิ้นงานที่ ๙ : จดหมายธุรกิจ


รูปแบบ ให้นักเรียนเขียนจดหมายธุรกิจสั่งซื้อหนังสืออ่านนอกเวลาจากบริษัทเจ้าของหนังสือที่นักเรียนอ่าน โดยระบุจำนวนหนังสือที่สั่งซื้อตามจำนวนนักเรียนในห้อง และบอกเหตุผลว่าทำไมถึงเลือกหนังสือเล่มนี้ พร้อมทั้งบอกข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสือที่เลือกด้วย รวมทั้งสอบถามถึงวิธีการจ่ายเงิน วิธีการส่งของ หรือ ราคาของสินค้า






ชิ้นงานที่ ๑๐ : สมุดมิตรภาพ


รูปแบบ ให้นักเรียนซื้อสมุด Friendship หรือจะทำเองก็ได้ แล้วนำมาออกแบบประวัติส่วนตัวให้น่าสนใจ ไม่เหมือนคนอื่น จากนั้นนำไปให้เพื่อนไม่ต่ำกว่า ๑๐ คนเขียนแสดงความรู้สึกต่อตัวเรา จากนั้นจึงนำมาส่งครู แต่ถ้าเป็นไปได้ น่าจะทำให้ครบทั้งห้องเพื่อจะได้เก็บไว้เป็นที่ระลึก
วิธีการนำมาส่ง 1. ขอให้ถ่ายเอกสารแผ่นหน้าที่เป็นตัวเรา และ
2. ถ่ายตัวอย่างของแผ่นในที่เป็นข้อความเขียนของเพื่อน(เลือกดีที่สุด) มา 1 คน  และอย่าลืมนำเล่มต้นฉบับมาด้วย (ครูจะส่งคืนหลังตรวจแล้ว แต่แผ่นเอกสารจะให้คะแนน และนักเรียนนำไปใส่ไว้ในแฟ้ม คืองานชิ้นที่ 10


ในกรณีที่นักเรียนอยากเขียนถึงครู อาจจะเขียนในหัวข้อ ๑ ปีที่มีครู เขียนเกี่ยวกับครุผู้สอนวิชาภาษาไทยก็ได้

การให้คะแนน ของครู จะมองที่รูปแบบของการเขียนข้อมูลแนะนำตนเอง  และการพูด หรือกล่าวถึงจุดประสงค์ ของการมีสมุดมิตรภาพ  งานเขียนของเพื่อน หรือ อาจารย์ ใน๑๐ คนเพื่อจะดู ว่านักเรียนได้รับข้อมูล ตามวัตถุประสงค์ หรือไม่ รวมทั้งความสดใส น่ารัก หรือ สำนวนที่มาจากงานเขียนที่เป็นธรรมชาติ ของนักเรียน
ตัวอย่างงาน

 
   


ขอให้นักเรียนตั้งใจทำงานและส่งงานให้ครบ เนื่องจากงานนี้จะเป็นคะแนนเก็บในวิชาภาษาไทยของนักเรียน ครูไม่อยากให้นักเรียนของครูได้คะแนนน้อยและไม่ผ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

ขอชื่นชมนักเรียนที่ทำงานครบและขยันอีกทั้งตั้งใจเรียนทุกคน ขอให้เป็นนักเรียนที่ดีและน่ารักของครต่อไป




                                                              รักและปรารถนาดี






                                                               ผศ.ระพิน ชูชื่น






                                                     อาจารย์ประจักษ์ น้อยเหนื่อย








Sunday, January 15, 2012

การเขียนจดหมาย
การเขียนจดหมายเป็นวิธีการที่นิยมใช้เพื่อสื่อสารแทนการพูด เมื่อผู้รับสารและผู้ส่งสารอยู่ห่างไกลกัน




การเขียนจดหมายเป็นวิธีการที่นิยมใช้เพื่อสื่อสารแทนการพูด เมื่อผู้รับสารและผู้ส่งสารอยู่ห่างไกลกัน

หรือมีความจำเป็นบางประการ ที่ทำให้ไม่สามารถพูดจากันได้ นอกจากนี้จดหมายยังใช้เป็นสื่อสัมพันธ์

ระหว่างบุคคลที่ไม่รู้จัก และจดหมายอาจใช้เป็นเอกสารสำคัญ สำหรับอ้างเป็นหลักฐานได้อีกด้วย

จดหมายที่เขียนส่งไปมาระหว่างกันนี้ มีหลายประเภท ดังนี้

จดหมาย คือ การติดต่อสื่อสารที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรตามรูปแบบเฉพาะที่กำหนดไว้ ใช้เขียนติดต่อกันเมื่อไม่สามารถพูดคุยกันหรือเมื่ออยู่ไกลกัน


จดหมายแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้

1. จดหมายส่วนตัว – จดหมายเขียนติดต่อกันในวงศ์ญาติ เพี่อน ครูอาจารย์

2. จดหมายธุรกิจ – จดหมายเขียนติดต่อกันระหว่างบริษัทห้างร้าน องค์การต่างๆ ในเรื่องการงาน พาณิชยกิจและการเงิน


3. จดหมายกิจธุระ – จดหมายเขียนติดต่อบุคคลอื่น บริษัทห้างร้านต่างๆ เพื่อแจ้งกิจธุระต่างๆ

4. จดหมายราชการ – จดหมายเขียนติดต่อกันในทางราชการ  เป็นทางราชการจากส่วนราชการ หนึ่ง ถึงส่วนราชการหนึ่ง ข้อความในหนังสือถือว่าเป็นหลักฐานทางราชการ และมีสภาพผูกมัดถาวรในราชการ


จดหมายกิจธุระ เป็นจดหมายที่เขียนติดต่อบุคคลอื่น บริษัทห้างร้านต่างๆ เพื่อแจ้งกิจธุระต่างๆ ระหว่างเอกชนกับเอกชน เอกชนกับราชการ เช่น จดหมายขอความช่วยเหลือ จดหมายสมัครงาน จดหมายสอบถามต่างๆ ฯลฯ คำว่า “กิจธุระ” กับ “ธุรกิจ” มีความหมายแตกต่างกันดังนี้

กิจธุระ หมายถึง การงานที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของคนเรา

ธุรกิจ หมายถึง การทำกิจการที่เกี่ยวกับการค้าขาย การลงทุนการได้กำไรหรือขาดทุน

หลักการเขียนจดหมาย

             1. เขียนให้น่าอ่าน น่าประทับใจ ได้แก่ การเขียนข้อความให้ชัดเจน ลายมือสะอาดเรียบร้อย การใช้กระดาษสีสุภาพ สะอาดเรียบร้อย ตลอดจนความเป็นระเบียบเรียบร้อยของจดหมาย

            2. ใช้ภาษาชัดเจน กะทัดรัด มีใจความที่สมบูรณื ใช้ภาษาเหมาะสมกับบุคคล กาลเทศะ เพื่อเป็นการยกย่องให้เกียรติแก่ผู้รับ ทีปัญหาในเรื่องของการเขียนจดหมายของนักเรียน ที่ครูพบ และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ที่จะนำมาเสนอให้นักเรียนได้เห็นข้อบกพร่อง  ของตนเองและได้แก้ไข   เช่น
1. ปัญหาในเรื่องของการเขียนชื่อเรื่อง  ..(จดหมายธุรกิจ)
2. ปัญหาเรื่องรูปแบบของจดหมาย ที่พบว่าผิดบ่อย คือ วันที่ ควรตรงกับ คำลงท้าย
3. การเขียนวันที่ ควรไว้ ตรงกลาง และควรเขียนให้อยู่ในรูปแบบ ดังนี้ เช่น  1 มกราคม 2555(วัน /เดือน/ปี)
ส่วนปัญหาอย่างอื่นคือเรื่องของใจความสำคัญ ซึ่งจะไปตรงกับความคิดเห็น ของ นางสาวพิณวดี จีรดิษฐ์

ดัดแปลงจาก cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/003/347/original_tuksa.doc? ได้พบว่าปัญหาของการเขียนหนังสือนั้นมีหลายประการดังนี้



           1. ไม่ชัดเจนว่า จะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร

           2. ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง ชอบใช้ภาษาพูด

           3. ใช้สะกด การันต์ วรรคตอน ไม่ถูกต้อง

          4. ย่อความ ไม่เป็น

          5. จับประเด็น ไม่ถูก ไม่ชัด

          6. ไม่อ้าง หนังสือที่อ้างถึง

          7. ตอบ ไม่ตรง ประเด็น (เรื่อง)

          8. ใช้สำนวน ไม่ดีพอ

         9. ไม่ ละเอียดรอบคอบ

        10. ไม่ พยายามปรับปรุง พัฒนาให้ดีขึ้น



การเขียนจดหมาย
การเขียนจดหมายเป็นวิธีการที่นิยมใช้เพื่อสื่อสารแทนการพูด เมื่อผู้รับสารและผู้ส่งสารอยู่ห่างไกลกัน




การเขียนจดหมายเป็นวิธีการที่นิยมใช้เพื่อสื่อสารแทนการพูด เมื่อผู้รับสารและผู้ส่งสารอยู่ห่างไกลกัน

หรือมีความจำเป็นบางประการ ที่ทำให้ไม่สามารถพูดจากันได้ นอกจากนี้จดหมายยังใช้เป็นสื่อสัมพันธ์

ระหว่างบุคคลที่ไม่รู้จัก และจดหมายอาจใช้เป็นเอกสารสำคัญ สำหรับอ้างเป็นหลักฐานได้อีกด้วย

จดหมายที่เขียนส่งไปมาระหว่างกันนี้ มีหลายประเภท ดังนี้

จดหมาย คือ การติดต่อสื่อสารที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรตามรูปแบบเฉพาะที่กำหนดไว้ ใช้เขียนติดต่อกันเมื่อไม่สามารถพูดคุยกันหรือเมื่ออยู่ไกลกัน


จดหมายแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้

1. จดหมายส่วนตัว – จดหมายเขียนติดต่อกันในวงศ์ญาติ เพี่อน ครูอาจารย์

2. จดหมายธุรกิจ – จดหมายเขียนติดต่อกันระหว่างบริษัทห้างร้าน องค์การต่างๆ ในเรื่องการงาน พาณิชยกิจและการเงิน


3. จดหมายกิจธุระ – จดหมายเขียนติดต่อบุคคลอื่น บริษัทห้างร้านต่างๆ เพื่อแจ้งกิจธุระต่างๆ

4. จดหมายราชการ – จดหมายเขียนติดต่อกันในทางราชการ  เป็นทางราชการจากส่วนราชการ หนึ่ง ถึงส่วนราชการหนึ่ง ข้อความในหนังสือถือว่าเป็นหลักฐานทางราชการ และมีสภาพผูกมัดถาวรในราชการ


จดหมายกิจธุระ เป็นจดหมายที่เขียนติดต่อบุคคลอื่น บริษัทห้างร้านต่างๆ เพื่อแจ้งกิจธุระต่างๆ ระหว่างเอกชนกับเอกชน เอกชนกับราชการ เช่น จดหมายขอความช่วยเหลือ จดหมายสมัครงาน จดหมายสอบถามต่างๆ ฯลฯ คำว่า “กิจธุระ” กับ “ธุรกิจ” มีความหมายแตกต่างกันดังนี้

กิจธุระ หมายถึง การงานที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของคนเรา

ธุรกิจ หมายถึง การทำกิจการที่เกี่ยวกับการค้าขาย การลงทุนการได้กำไรหรือขาดทุน

หลักการเขียนจดหมาย

             1. เขียนให้น่าอ่าน น่าประทับใจ ได้แก่ การเขียนข้อความให้ชัดเจน ลายมือสะอาดเรียบร้อย การใช้กระดาษสีสุภาพ สะอาดเรียบร้อย ตลอดจนความเป็นระเบียบเรียบร้อยของจดหมาย

            2. ใช้ภาษาชัดเจน กะทัดรัด มีใจความที่สมบูรณื ใช้ภาษาเหมาะสมกับบุคคล กาลเทศะ เพื่อเป็นการยกย่องให้เกียรติแก่ผู้รับ ทีปัญหาในเรื่องของการเขียนจดหมายของนักเรียน ที่ครูพบ และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ที่จะนำมาเสนอให้นักเรียนได้เห็นข้อบกพร่อง  ของตนเองและได้แก้ไข   เช่น
1. ปัญหาในเรื่องของการเขียนชื่อเรื่อง  ..(จดหมายธุรกิจ)
2. ปัญหาเรื่องรูปแบบของจดหมาย ที่พบว่าผิดบ่อย คือ วันที่ ควรตรงกับ คำลงท้าย
3. การเขียนวันที่ ควรไว้ ตรงกลาง และควรเขียนให้อยู่ในรูปแบบ ดังนี้ เช่น  1 มกราคม 2555(วัน /เดือน/ปี)
ส่วนปัญหาอย่างอื่นคือเรื่องของใจความสำคัญ ซึ่งจะไปตรงกับความคิดเห็น ของ นางสาวพิณวดี จีรดิษฐ์

ดัดแปลงจาก cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/003/347/original_tuksa.doc? ได้พบว่าปัญหาของการเขียนหนังสือนั้นมีหลายประการดังนี้



           1. ไม่ชัดเจนว่า จะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร

           2. ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง ชอบใช้ภาษาพูด

           3. ใช้สะกด การันต์ วรรคตอน ไม่ถูกต้อง

          4. ย่อความ ไม่เป็น

          5. จับประเด็น ไม่ถูก ไม่ชัด

          6. ไม่อ้าง หนังสือที่อ้างถึง

          7. ตอบ ไม่ตรง ประเด็น (เรื่อง)

          8. ใช้สำนวน ไม่ดีพอ

         9. ไม่ ละเอียดรอบคอบ

        10. ไม่ พยายามปรับปรุง พัฒนาให้ดีขึ้น



การเขียนบทความ


การเขียนบทความ
 ครูขอให้รายละเอียด ของการเขียนบทความ ที่เราได้ทำไป ในเรื่องของการเขียนเกี่ยวกับวันปิดเทอมของเรา
เพื่อให้นักเรียนได้เห็น ถึงความแตกต่าง ระหว่างบทความ และเรียงความ ซึ่งอาจารย์ได้นำเนื้อหามาจากเว็บไซด์
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=16808
คิดว่านี้จะให้รายละเอียด แก่นักเรียนได้มากขึ้น
บทความ คือข้อเขียนซึ่งอาจจะเขียนเป็นรายงานหรือการแสดงความคิดเห็น มีลักษณะพิเศษต่างจากความเรียงความธรรมดา

เป็นความเรียงที่เขียนขึ้นจากพื้นฐานข้อเท็จจริง โดยใช้หลักฐานการอ้างอิงประกอบในลักษณะวิเคราะห์ปัญหาขัดแย้งต่างๆ หรือในการเสนอความเห็นทัศนคติของผู้เขียนต่อเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นหริอเหตุการณ์ที่กำลังอยู่ในความสนใจของสังคม นิยมใช้ภาษาที่กระชับเป็นทางการเรียบง่าย ชัดเจน มีข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์ หรือเชิงสร้างสรรค์



จุดมุ่งหมายในการเขียนบทความ

1.เพื่ออธิบายหรือให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง

2.เพื่อพรรณนาทำให้ผู้อ่านนึกถึงภาพของสิ่งของ สถานที่หรือความเป็นอยู่

3.เพื่อเทศนา ชักชวน ให้ผู้อ่า่นคล้อยตามความคิดของผู้เขียน

4.เพื่ออธืบายในข้อปัญหาต่างๆ และชักนำให้ผู้อ่านเห็นด้วยและปฏิบัติตาม



ประเภทของบทความ


ประเภทของบทความแบ่งตามลักษณะของเนื้อหาได้ดังนี้

1.ประเภทปัญหาโตแย้ง

2.ประเภทเสนอคำแนะนำ

3.ประเภทท่องเที่ยวเดินทาง

4.ประเภทกึ่งชีวประวัติ หรือสารคดีความรู้ทั่วไป

5.ประเภทเปรียบเทียบ สมมุติ หรืออุปมาอุปไมย



ลักษณะของบทความที่ดี

1.น่าสนใจ มีเนื้อหาเหตุการณ์ใหม่กำลังเป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไป

2.มีสาระแก่นสาร มีหลักฐานอ้างอิง พิสูจน์ได้

3.มีขนาดกะทะรัด สั้นกระชับ ใช้ภาษาง่ายๆ ถูกต้องตามหลักภาษา

4.ผู้เขียนเข้าใจปัญหาที่มาของเรื่องอย่างละเอียดชัดเจนโดยตลอด

5.มีวิธีการเขียนน่าสนใจ น่าติดตาม ไม่หนักเชิงวิชาการหรือเบาจนไร้สาระจนเกินไป




ขั้นตอนการเขียนบทความ มีดังนี้

1.การเลือกเรื่อง เรื่องที่นำมาเขียนต้องอยู่ในความสนใจและความต้องการของผู้อ่าน เป็นเรื่องที่ผู้เขียนรู้จริง หรือมีประสบการณ์อย่างถ่องแท้

2.การวางแผนก่อนการเขียน เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายว่าผู้อ่านเป็นใครโดยจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ

2.1 กลุ่มผู้อ่าน ผู้เขียนต้องคำนึงถึงอายุ เพศ รายได้ อาชีย ความรู้ ในเรื่องความรู้ต้องคิดด้วยว่าผู้อ่านรู้อะไร รู้เรื่องนั้นๆ ดีพอเพียงใดที่ผู้อ่านต่องการรู้ และผู้อ่านจะได้รับข่าวสารที่ผู้เขียนเขียนได้อย่างไร เพราะ ความสำเร็จของการเขียนขึ้นอยู่กับผู้อ่านยอมรับข้อเขียนของผู้เขียน

2.2 กำหนดวัตถุประสงค์ ในข้อนี้ผู้เขียนต้องคำนึงว่าจะเขียนบทความนี้ไปทำไม เช่น เพื่อให้ข่าวสาร สร้างความคิดที่ดี หรือเพื่อโน้มน้าวใจ โดยวัตถุประสงค์ในการเขียนเพื่อการโน้มน้าวใจต้องให้ผู้อ่านเกิดความต้องการหรือตระหนักในปัญหาก่อน จากนั้นค่อยเสนอทางออก พร้อมกับยกตัวอย่างและหลักฐานที่ผู้อ่านสามารถเห็นภาพพจน์แล้วสรุปอีกครั้งในจุดที่ผู้เขียนต้องการ 2.3 การรวบรวมเนื้อหา การเขียนบทความไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่ผู้เขียนต้อคำนึงคือหลักฐาน ข้อเท็จจริง ดังนั้นก่อนที่จะลงมือเขียนจำเป็นจะต้องสืบเสาะหาเรื่องราวให้มีความรู้เพียงพอ โดยวิธีการรวบรวมเนื้อหาสามารถทำได้ดังนี้

2.3.1 การค้นคว้าข้อมุลด้านวิทยาการจากหนังสือและเอกสารต่างๆ เช่น จากห้องสมุด หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ

2.3.2 การสัมภาษณ์บุคคลที่ต้องการจะเขียนถึง หรือจากบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ต้องการเขียน

2.3.3 การสนทนาหรือพูดคุยกับบุคคลทั่ใไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

2.3.4 การเดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ แล้วจดบันทึกสิ่งที่ได้พบได้เห็น ซึ่งจะเป็นการสร้างสีสันให้งานเขียนมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น

2.3.5 การสืบเสาะเรื่องราวต่างๆ ว่าเกิดขึ้นกับใคร ที่ไหน อย่างไร แล้วจึงติดตามไปยังแหล่งที่เกิดเหตุ ติดตามดูสถานที่ การกระทำ เหตุการณ์

3.การจัดเนื้อหา ได้แก่ การวางโครงเรื่องของบทความ ซึ่งเป็นการจัดลำดับเนื้อหา คาวมคิด ของเรื่องราวนั้นๆ เป็นต้น จะลำดับ



การเขียนบทความ


การเขียนบทความ
 ครูขอให้รายละเอียด ของการเขียนบทความ ที่เราได้ทำไป ในเรื่องของการเขียนเกี่ยวกับวันปิดเทอมของเรา
เพื่อให้นักเรียนได้เห็น ถึงความแตกต่าง ระหว่างบทความ และเรียงความ ซึ่งอาจารย์ได้นำเนื้อหามาจากเว็บไซด์
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=16808
คิดว่านี้จะให้รายละเอียด แก่นักเรียนได้มากขึ้น
บทความ คือข้อเขียนซึ่งอาจจะเขียนเป็นรายงานหรือการแสดงความคิดเห็น มีลักษณะพิเศษต่างจากความเรียงความธรรมดา

เป็นความเรียงที่เขียนขึ้นจากพื้นฐานข้อเท็จจริง โดยใช้หลักฐานการอ้างอิงประกอบในลักษณะวิเคราะห์ปัญหาขัดแย้งต่างๆ หรือในการเสนอความเห็นทัศนคติของผู้เขียนต่อเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นหริอเหตุการณ์ที่กำลังอยู่ในความสนใจของสังคม นิยมใช้ภาษาที่กระชับเป็นทางการเรียบง่าย ชัดเจน มีข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์ หรือเชิงสร้างสรรค์



จุดมุ่งหมายในการเขียนบทความ

1.เพื่ออธิบายหรือให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง

2.เพื่อพรรณนาทำให้ผู้อ่านนึกถึงภาพของสิ่งของ สถานที่หรือความเป็นอยู่

3.เพื่อเทศนา ชักชวน ให้ผู้อ่า่นคล้อยตามความคิดของผู้เขียน

4.เพื่ออธืบายในข้อปัญหาต่างๆ และชักนำให้ผู้อ่านเห็นด้วยและปฏิบัติตาม



ประเภทของบทความ


ประเภทของบทความแบ่งตามลักษณะของเนื้อหาได้ดังนี้

1.ประเภทปัญหาโตแย้ง

2.ประเภทเสนอคำแนะนำ

3.ประเภทท่องเที่ยวเดินทาง

4.ประเภทกึ่งชีวประวัติ หรือสารคดีความรู้ทั่วไป

5.ประเภทเปรียบเทียบ สมมุติ หรืออุปมาอุปไมย



ลักษณะของบทความที่ดี

1.น่าสนใจ มีเนื้อหาเหตุการณ์ใหม่กำลังเป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไป

2.มีสาระแก่นสาร มีหลักฐานอ้างอิง พิสูจน์ได้

3.มีขนาดกะทะรัด สั้นกระชับ ใช้ภาษาง่ายๆ ถูกต้องตามหลักภาษา

4.ผู้เขียนเข้าใจปัญหาที่มาของเรื่องอย่างละเอียดชัดเจนโดยตลอด

5.มีวิธีการเขียนน่าสนใจ น่าติดตาม ไม่หนักเชิงวิชาการหรือเบาจนไร้สาระจนเกินไป




ขั้นตอนการเขียนบทความ มีดังนี้

1.การเลือกเรื่อง เรื่องที่นำมาเขียนต้องอยู่ในความสนใจและความต้องการของผู้อ่าน เป็นเรื่องที่ผู้เขียนรู้จริง หรือมีประสบการณ์อย่างถ่องแท้

2.การวางแผนก่อนการเขียน เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายว่าผู้อ่านเป็นใครโดยจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ

2.1 กลุ่มผู้อ่าน ผู้เขียนต้องคำนึงถึงอายุ เพศ รายได้ อาชีย ความรู้ ในเรื่องความรู้ต้องคิดด้วยว่าผู้อ่านรู้อะไร รู้เรื่องนั้นๆ ดีพอเพียงใดที่ผู้อ่านต่องการรู้ และผู้อ่านจะได้รับข่าวสารที่ผู้เขียนเขียนได้อย่างไร เพราะ ความสำเร็จของการเขียนขึ้นอยู่กับผู้อ่านยอมรับข้อเขียนของผู้เขียน

2.2 กำหนดวัตถุประสงค์ ในข้อนี้ผู้เขียนต้องคำนึงว่าจะเขียนบทความนี้ไปทำไม เช่น เพื่อให้ข่าวสาร สร้างความคิดที่ดี หรือเพื่อโน้มน้าวใจ โดยวัตถุประสงค์ในการเขียนเพื่อการโน้มน้าวใจต้องให้ผู้อ่านเกิดความต้องการหรือตระหนักในปัญหาก่อน จากนั้นค่อยเสนอทางออก พร้อมกับยกตัวอย่างและหลักฐานที่ผู้อ่านสามารถเห็นภาพพจน์แล้วสรุปอีกครั้งในจุดที่ผู้เขียนต้องการ 2.3 การรวบรวมเนื้อหา การเขียนบทความไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่ผู้เขียนต้อคำนึงคือหลักฐาน ข้อเท็จจริง ดังนั้นก่อนที่จะลงมือเขียนจำเป็นจะต้องสืบเสาะหาเรื่องราวให้มีความรู้เพียงพอ โดยวิธีการรวบรวมเนื้อหาสามารถทำได้ดังนี้

2.3.1 การค้นคว้าข้อมุลด้านวิทยาการจากหนังสือและเอกสารต่างๆ เช่น จากห้องสมุด หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ

2.3.2 การสัมภาษณ์บุคคลที่ต้องการจะเขียนถึง หรือจากบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ต้องการเขียน

2.3.3 การสนทนาหรือพูดคุยกับบุคคลทั่ใไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

2.3.4 การเดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ แล้วจดบันทึกสิ่งที่ได้พบได้เห็น ซึ่งจะเป็นการสร้างสีสันให้งานเขียนมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น

2.3.5 การสืบเสาะเรื่องราวต่างๆ ว่าเกิดขึ้นกับใคร ที่ไหน อย่างไร แล้วจึงติดตามไปยังแหล่งที่เกิดเหตุ ติดตามดูสถานที่ การกระทำ เหตุการณ์

3.การจัดเนื้อหา ได้แก่ การวางโครงเรื่องของบทความ ซึ่งเป็นการจัดลำดับเนื้อหา คาวมคิด ของเรื่องราวนั้นๆ เป็นต้น จะลำดับ



Saturday, January 14, 2012

นัดหมายสอบเก็บคะแนนวิชาภาษาไทย

สวัสดีนักเรียนทุกคน....
     ครูขอนัดหมายสอบเก็บคะแนนวิชาภาษาไทย ครั้งที่ 5 โดยมีเนื้อหาในการสอบดังนี้
1. กลอน 8
2. นิทานพื้นบ้าน
3. การละเล่นเด็กไทย
4. การเขียนจดหมาย
   ข้อสอบมีทั้งหมด 50 ข้อ ขอให้นักเรียนทุกคน ตั้งใจอ่านหนังสือและทบทวนเนื้อหาด้วย เพื่อคะแนนสอบของนักเรียนทุกคน


**สอบภายในอาทิตย์ที่ 16 ม.ค.-20 ม.ค. 55


                                                     ด้วยรักและปรารถนาดี

นัดหมายสอบเก็บคะแนนวิชาภาษาไทย

สวัสดีนักเรียนทุกคน....
     ครูขอนัดหมายสอบเก็บคะแนนวิชาภาษาไทย ครั้งที่ 5 โดยมีเนื้อหาในการสอบดังนี้
1. กลอน 8
2. นิทานพื้นบ้าน
3. การละเล่นเด็กไทย
4. การเขียนจดหมาย
   ข้อสอบมีทั้งหมด 50 ข้อ ขอให้นักเรียนทุกคน ตั้งใจอ่านหนังสือและทบทวนเนื้อหาด้วย เพื่อคะแนนสอบของนักเรียนทุกคน


**สอบภายในอาทิตย์ที่ 16 ม.ค.-20 ม.ค. 55


                                                     ด้วยรักและปรารถนาดี

Thursday, January 5, 2012

ลำดับชิ้นงานวิชาภาษาไทย เทอมที่ 2

ชิ้นงานวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖




ชิ้นงานที่ ๑ จดหมาย/บทความวันปิดเทอม

ชิ้นงานที่ ๒ สำนวนจากสื่อ

ชิ้นงานที่ ๓ โวหารจากบทเพลง

ชิ้นงานที่ ๔ ใบเลือกหนังสืออ่านนอกเวลา

ชิ้นงานที่ ๕ ใบบันทึกการอ่าน (หนังสืออ่านนอกเวลา)

ชิ้นงานที่ ๖ POP UP ศึกสายเลือด

ชิ้นงานที่ ๗ โวหารจากหนังสือที่อาน

ชิ้นงานที่ ๘ กลอนวันปีใหม่..

ชิ้นงานที่ ๙ เขียนจดหมายธุรกิจ (สั่งซื้อหนังสือ)


...ครูกำลังจะลงตัวอย่างชิ้นงาน ที่นักเรียนได้ส่งมา เพื่อให้เพื่อนได้ดูเป็นตัวอย่างในการทำงาน...

ลำดับชิ้นงานวิชาภาษาไทย เทอมที่ 2

ชิ้นงานวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖




ชิ้นงานที่ ๑ จดหมาย/บทความวันปิดเทอม

ชิ้นงานที่ ๒ สำนวนจากสื่อ

ชิ้นงานที่ ๓ โวหารจากบทเพลง

ชิ้นงานที่ ๔ ใบเลือกหนังสืออ่านนอกเวลา

ชิ้นงานที่ ๕ ใบบันทึกการอ่าน (หนังสืออ่านนอกเวลา)

ชิ้นงานที่ ๖ POP UP ศึกสายเลือด

ชิ้นงานที่ ๗ โวหารจากหนังสือที่อาน

ชิ้นงานที่ ๘ กลอนวันปีใหม่..

ชิ้นงานที่ ๙ เขียนจดหมายธุรกิจ (สั่งซื้อหนังสือ)


...ครูกำลังจะลงตัวอย่างชิ้นงาน ที่นักเรียนได้ส่งมา เพื่อให้เพื่อนได้ดูเป็นตัวอย่างในการทำงาน...

Wednesday, January 4, 2012

ชิ้นงานที่ 9 การเขียนจดหมาย

ชิ้นงานที่ 9 การเขียนจดหมาย ธุรกิจ

      1. ให้นักเรียนเขียนจดหมาย ถึงห้างร้าน บริษัท โรงพิมพ์ หนังสืออ่านนอกเวลา คนละ 1 ฉบับ

      2. ใจความ เกี่ยวกับการขอสั่งซื้อหนังสือ อ่านนอกเวลา  ตามจำนวนนักเรียนในห้อง เนื่องจากนักเรียนได้รับ
ให้เป็นตัวแทนในการเลือกหนังสืออ่าน ให้เพื่อน และนักเรียนทราบว่าหนังสือเล่มนี้ ดีอย่างไร (นักเรียนได้อ่านแล้ว เป็นหนังสือที่นักเรียนเลือกอ่าน) ควรบอกรายละเอียด ให้ชัดเจน ว่าหนังสือชื่ออะไร ใครแต่ง....

     3. รูปแบบการเขียนจดหมาย ธุรกิจ ทำส่งใส่กระดาษ เอ 4



ตัวอย่าง

                                                                            36 พหลโยธิน คูคต ลำลูกกา


                                                                                     ปทุมธานี 12130

                                                  25 พฤษภาคม 2545

เรียน ผู้จัดการบริษัทไทยพัฒนา จำกัด

                     ……………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………..

                     ………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………..

                                                  …………………………………………………

                                                                 ขอแสดงความนับถือ

                                                              (นายกันย์ สมุทรไพศาล)

                                                                        ผู้จัดการ

        

ชิ้นงานที่ 9 การเขียนจดหมาย

ชิ้นงานที่ 9 การเขียนจดหมาย ธุรกิจ

      1. ให้นักเรียนเขียนจดหมาย ถึงห้างร้าน บริษัท โรงพิมพ์ หนังสืออ่านนอกเวลา คนละ 1 ฉบับ

      2. ใจความ เกี่ยวกับการขอสั่งซื้อหนังสือ อ่านนอกเวลา  ตามจำนวนนักเรียนในห้อง เนื่องจากนักเรียนได้รับ
ให้เป็นตัวแทนในการเลือกหนังสืออ่าน ให้เพื่อน และนักเรียนทราบว่าหนังสือเล่มนี้ ดีอย่างไร (นักเรียนได้อ่านแล้ว เป็นหนังสือที่นักเรียนเลือกอ่าน) ควรบอกรายละเอียด ให้ชัดเจน ว่าหนังสือชื่ออะไร ใครแต่ง....

     3. รูปแบบการเขียนจดหมาย ธุรกิจ ทำส่งใส่กระดาษ เอ 4



ตัวอย่าง

                                                                            36 พหลโยธิน คูคต ลำลูกกา


                                                                                     ปทุมธานี 12130

                                                  25 พฤษภาคม 2545

เรียน ผู้จัดการบริษัทไทยพัฒนา จำกัด

                     ……………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………..

                     ………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………..

                                                  …………………………………………………

                                                                 ขอแสดงความนับถือ

                                                              (นายกันย์ สมุทรไพศาล)

                                                                        ผู้จัดการ