Teaching Thai

Teaching Thai
Rapin Chuchuen

Friday, December 19, 2014

คะแนนสอบ ที่เป็นคะแนน 20

คะแนนเต็ม 20  มีคะแนนแบ่งเป็นสองส่วน
ส่วนแรกจากแบบฝึกหัดที่ทำในcheet และ    ข้อสอบย่อย  
อีกส่วนที่ทำในสมุดและที่สั่งให้ทำในเอ4


ครูได้ลงคะแนนไว้แล้ว นักเรียนที่ขาดส่งงานนำงานมาส่งในวันที่เปิดเรียนได้คะ ครุจะปรับคะแนนให้



   หมายเหตุ คะแนนหลายคน แจ้งว่าจะมาส่งตอนเปิดเทอม ขอให้นำมาด้วยคะ



นักเรียน โปรดตรวสอบ และคนที่ขาดงานที่สั่งไว้ให้ตามส่งด้วยคะ อย่าหยุดเพลินคะ


Monday, December 1, 2014

ชิ้นงานเทอม 2 /2557



งานทั้งหมดนี้ จะเป็นงานของนักเรียนที่ใช้ในการเก็บคะแนน
และเป็นงานที่เกิดทั้งในและนอกห้องเรียน
อาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

Monday, November 17, 2014

สำนวนจากเพลง

ตัวอย่างโวหารจากเพลง





หลังจากนักเรียน ดูวีดีทัศน์เพลง  ภูมิแพ้กรุงเท




ตอบคำถาม ท้ายเรืองที่ดู ว่ามีโวหารอะไรในเพลง
 โวหารที่ได้จากเพลง
...................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................

การย่อความ

นักเรียน นำเรื่อง หรือบทความ สารคดี เรื่องราว ทีนักเรียนสนใจมาคนละ บทความ (ความยาวของเรื่องควรไม่น้อยกว่า 1 หน้ากระดาษ ควรให้มีที่มาที่ไป หรือเรียกว่า อ้างอิงทีมาได้ เช่น ช่ือหนังสือ ชื่อคนแต่ง
จำนวนหน้า หรือ ปีที่พิมพ์ 

หมายเหตุ อย่าลืมใส่หัวย่อความด้วยคะ




งานที่สั่ง ให้นักเรียนทำการย่อความตามรูปแบบ คนละ 1  เรื่อง ทั้งนี้ให้ใส่สมุดมา และให้นำเอกสารต้นฉบับ ที่เป็นต้นเรื่องมาด้วย
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................

งาน เรื่องอย่าชิงสุกก่อนห่าม

นักเรียน นำข่าวที่เกี่ยวกับ เรื่องอย่าชิงสุกก่อนห่าม ให้นำมาคนละ 1  เรื่อง   เช่น ข่าวที่เกี่ยวกับ เด็กวัยรุ่นท้องก่อนเรียนจบ หรือ นักเรียนบางคนทำเรื่องที่ไม่สมควรก่อนวัยอันควร   เช่นการ ติดยาเสพติด ในวัยเรียน

วิเคราะห์เรื่อง หรือบทความที่นำมา

โดยชี้ให้เห็นประเด็นว่าควร หรือไม่ควรอย่างไร มีอะไรเป็นคำสำคัญ หรือตัวชี้วัดให้เห็นถึงพฤติกรรม
ทีเรียกว่า ชิงสุกก่อนห่าม
.............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................

Friday, October 24, 2014

งานนักเรียนสำนวนโวหาร


นักเรียน อ่านเรื่องสั้นนี้ แล้วเปรียบเทียบหาสำนวนโวหาร ที่นักเรียนได้เรียนแล้วในห้องเรียน
ว่าเป็นสำนวนชนิดใด ให้ทำใส่สมุด และนำมาส่งในห้องเรียนวันที่เรียนคะ
(สำนวนโวหารที่นักเรียนเรียนไป มีโวหารภาพพจน์ และโวหารหลัก 5 อย่าง ครั้งนี้ให้พิจารณา
จากโวหารหลักก่อนคะ)

คำตอบ  จากเรื่องที่อ่าน พบโวหารทีใช้งานเขียนดังนี้ >.........................................................
.....................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................


Tuesday, September 23, 2014

ตรวจสอบคะแนนการอ่าน

นักเรียน ที่ยังไม่ส่งงาน ต้องนำงานมาส่งวันพฤหัส และถ้าไม่ส่งครูติดต่อผู้ปกครองให้ช่วยกระตุ้นนักเรียน เนื่องจากงานเหล่านี้ ถูกสอนในห้องและให้ทำนานแล้ว ตัวอย่างที่จะทำมีในเว็บดังนั้นครูคาดว่า นักเรียนจะแก้ปัญหาเรื่องความสงสัยในงานได้

 ห้อง 6/1

ห้อง 6/1

ห้อง 6/2


 ห้อง  6/2

 ห้อง  6/3

ห้อง  6/3




Monday, September 22, 2014

ตามงาน



นักเรียน ที่ยังไม่ส่งงาน ส่งด้วยภายในวันพฤหัสนี้

                                                             ห้อง 6/5
ห้อง 6/5




ห้อง 6/4



Sunday, September 21, 2014

ตัวอย่างงาน mapping

ในเรื่องเดียวกัน นักเรียนอาจมีมุมมองที่แตกต่าง แต่ทั้งหมดคือความรู้ที่นักเรียนได้








Friday, September 19, 2014

สอบ 57

นักเรียน อีกบางส่วน ที่ยังไม่ส่งงาน
ขอให้นักเรียน เตรียมตัวสอบก่อน และเอางานมาส่ง
วันสุดท้ายของการสอบได้คะ (แต่ต้องไม่ลืมนะคะ)
ระพิน

Wednesday, September 17, 2014

ตัวอย่างงานนักเรียน

จากตัวอย่างงานที่ดี ของเพื่อนๆ นักเรียนสามารถ นำมาเป็นตัวอย่างการทำงานและการบ้านได้คะ
แต่อย่างได้ ลอกคำตอบทั้งหมด โดยไม่พิจารณา





Tuesday, September 9, 2014

ทบทวนบทเรียน

เนื้อเรื่องย่อ นักสืบทองอิน
นายทองอิน รัตนะเนตร์ นักสืบที่คอยช่วยตำรวจไขคดีที่ไม่สามารถคลี่คลายได้ ด้วยคุณสมบัติช่างตริตรอง สุขุมมีความสามารถ ในการปลอมตัว อย่าง ยอดเยี่ยม ของนายทองอิน และด้วยความช่วยเหลือของนายวัดเพื่อนสนิท จึงทำให้ นายทองอิน สามารถไขคดีได้ทุกคดี นายทองอิน เป็นนักสืบสายเลือดไทย คนแรกที่ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้น และ นิทานทองอิน ยังเป็นพระราชนิพนธ์ แนวสืบสวน สอบสวน เล่มแรกของพระองค์ และ ถือว่าเป็น วรรณคดีเล่มแรกในวง วรรณกรรมไทย อีกด้วยเช่นกัน
วรรณคดีและวรรณกรรม
ความแตกต่างของวรรณคดี และ วรรณกรรม
วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และ มีคุณค่าทางวรรณศิลป์การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้น
ในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่๖ วรรณคดีเป็นวรรณกรรม ที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่าสามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะเหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นรู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร
         วรรณคดีแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
๑.    วรรณคดีมุขปาฐะ คือ วรรณคดีแบบที่เล่ากันมาปากต่อปาก ไม่ได้บันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์ อักษร เช่น เพลงพื้นบ้าน นิทานชาวบ้าน บทร้องเล่น
๒.   วรรณคดีราชสำนัก หรือ วรรรณคดีลายลักษณ์  เช่นไตรภูมิพระร่วง พระอภัยมณี อิเหนา ลิลิตตะเลงพ่าย
ตัวอย่างวรรณคดี
๑.อิเหนา เป็นวรรณคดีที่นำไปใช้แสดงละครหรือการแสดงทางนาฏศิลป์ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของความเป็นอยู่สมัยก่อน และความรัก
๒.รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่นำไปใช้แสดงละครหรือการแสดงทางนาฏศิลป์ สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของฝั่งยักษ์ มนุษย์ และเทวดา
๓.สังข์ทอง เป็นวรรณคดีที่นำไปใช้แสดงละครหรือการแสดงทางนาฏศิลป์ สะท้อนให้เห็นถึงการเลือกคู่ และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ 

๔.ไกรทอง เป็นวรรณคดีที่นำไปใช้แสดงละครหรือการแสดงทางนาฏศิลป์ สะท้อนให้เห็นถึงความรักและการฝึกฝนในการล่าจระเข้
    ๕.พระอภัยมณี เป็นวรรณคดีที่นำไปใช้แสดงละครหรือการแสดงทางนาฏศิลป์ สะท้อนให้เห็นถึงความรักที่ต่างกันระหว่างยักษ์และมนุษย์ และความเป็นอยู่ในวัง

วรรณกรรม หมายถึง วรรณคดีหรือศิลปะที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียงนำมาบอกเล่า บันทึกขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น ๒ ประเภทคือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือ วรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และ วรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้ แก่  วรรณกรรมที่ เล่าด้วยิปาก ไม่ได้จดบันทึก ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงมีความหมายครอบคลุมกว้างถึงประวัติ นิทาน ตำนาน เรื่องเล่า ขำขัน เรื่องสั้น นวนิยาย บทเพลง คำคมเป็นต้น
วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ ๒ ชนิดคือ
๑.   ร้อยแก้ว เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ
๒.   ร้อยกรอง เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัสคล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความงามของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์กาพย์ กลอน และร่าย  เรื่อง ชมรมคนรักวรรณคดี
ตัวละครที่ชอบในเรื่อง ชมรมคนรักวรรณคดี
1.      ชาลี มีลักษณะ  นิสัยดี  สนใจในการเรียน  เมื่อว่างเขาจะไปห้องสมุดที่โรงเรียน
ช อบวรรณคดีไทย
     2. มะปราง  มีลักษณะ  นิสัยดี  ยิ้มแย้มแจ่มใส ชอบดูฝูงปลาฮุบเหยื่อ     สนใจในวรรณคดีไทย
    3. ผมแกละ มีลักษณะ นิสัยดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น  มีความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีมาก







อ่านข่าวแล้วต้องคิด

งานนี้ นักเรียนที่ทำแล้วยังไม่เสร็จ ต้องตอบคำถาม ลงในสมุดแบบฝึกหัดคะ  และทำส่งในห้องเรียน หรือในห้องพักครูก็ได้ คะ 













Sunday, September 7, 2014

อ่านแล้วเขียนแผนภาพความคิด ชิ้นงาน

นักเรียนที่อ่านแล้วต้องทำเป็นชิ้นงาน ส่งในกระดาษ เอ4  คะ



นักเรียนศึกษาเรื่อง นิทานทองอิน และ ขุนช้างขุนแผนมาแล้ว อาจจะคุ้นกับคำว่า พราย 
ทั้งนี้เพื่ออธิบายถึงคำว่า พราย เพิ่มขึ้น 




Saturday, August 30, 2014

อ่านแล้วตอบคำถาม


นิทาน เงินกับความสุข
                 พุทธศาสนิกชน 3 ราย สีหน้าเต็มไปด้วยความกลัดกลุ้มเนื่องเพราะปัญหาที่แก้ไม่ตก จึงได้ไปขอคำชี้แนะจากอาจารย์เซนอู๋เต๋อ เมื่อได้พบก็เอ่ยถามอาจารย์เซนว่า "มีหนทางใดที่จะทำให้พวกเรามีความสุขในชีวิต?"

      
       อาจารย์เซนถามกลับไปว่า "พวกท่านแต่ละคนมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร?"
       
       คนแรกตอบว่า "ข้ามีชีวิตอยู่เพราะไม่อยากตาย"
       คนต่อมาตอบว่า "ข้ามีชีวิตอยู่เพื่อมีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง ยามแก่เฒ่าแวดล้อมไปด้วยลูกหลาน คงเป็นความสุขยิ่งนัก"
       คนสุดท้ายตอบว่า "ข้ามีชีวิตอยู่เพื่อเป็นที่พึ่งให้กับคนในครอบครัว ตอนนี้ทุกคนต้องพึ่งพาข้า ดังนั้นข้าจึงไม่อาจตาย"
      
       เมื่อได้ฟังเหตุผลในการมีชีวิตอยู่ของทั้งสาม อาจารย์เซนอู่เต๋อได้แต่กล่าวว่า "หากเป็นเช่นนั้นพวกท่านคงไม่อาจมีความสุขตลอดกาล เนื่องเพราะพวกท่านคนหนึ่งมีชีวิตอยู่บนความหวาดกลัวความตาย  คนหนึ่งเฝ้ารอให้ถึงยามแก่เฒ่า อีกคนหนึ่งถูกขับเคลื่อนด้วยภาระอันหนักอึ้ง จนต่างก็หลงลืมหลักการและความหมายที่แท้จริงของการมีชีวิตอยู่ เช่นนี้จะมีความสุขได้อย่างไร"
      
       จากนั้นอาจารย์เซนจึงเอ่ยถามเหล่าพุทธศาสนิกชนต่อไปว่า "ในความเห็นของทุกท่าน 'ความสุข' คืออะไร?"
  
       คนแรกตอบว่า "ย่อมเป็นทรัพย์สินเงินทองบันดาลความสุข"
       คนต่อมาตอบว่า "ความรักจึงนำมาซึ่งความสุข"
       คนสุดท้ายตอบว่า "ชื่อเสียงเกียรติยศต่างหากคือความสุข"
      
       อาจารย์เซนกลับตอบว่า "นั่นกลับมิใช่ ซ้ำร้ายหากพวกท่านสะสมสิ่งเหล่านี้มากเกินไปกลับยิ่งเพิ่มความทุกข์"
      
       พุทธศาสนิกชนทั้งสามมองหน้ากันด้วยความงุนงง อาจารย์เซนจึงกล่าวต่อไปว่า "หากพวกท่านมีทรัพย์สินเงินทอง ความรัก หรือลาภยศสรรเสริญแล้ว ความกังวลว่าจะเสียมันไป ความโศกเศร้าเมื่อสูญเสียไปแล้ว รวมทั้งความปรารถนาอยากได้อยากมีมากกว่าเดิม จะกลายเป็นบ่วงแร้วคอยพันธนาการพวกท่านเอาไว้ กลายเป็นการเพิ่มพูนความทุกข์ แต่หากพวกท่านต้องการความสุข ก็ต้องปรับเปลี่ยนความคิดดังนี้"
      
       "อันว่าทรัพย์สินเงินทองเมื่อมีมากจงทำบุญทำทานออกไปจึงจะเป็นสุข ความรักนั้นต้องรู้จักการเสียสละและการให้ค่อยมีความสุข ส่วนเกียรติยศชื่อเสียงจงนำมาใช้เพื่ออำนวยประโยชน์สุขให้ส่วนรวม เช่นนี้จึงเป็นความสุขโดยแท้"
      
      
       ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精版》, 慕云居เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4