Teaching Thai

Teaching Thai
Rapin Chuchuen

Saturday, June 28, 2014

บันทึกการอ่าน ชิ้นงานที่ 3

นักเรียนที่ได้หนังสือแล้ว ต้องทำใบเลือกหนังสือ ชิ้นงานที่ 2 และบันทึกการอ่าน(หลังอ่านแล้ว)
ช้ินงานที่ 3



ตัวอย่างงาน คำถามจากหนังสือ













Saturday, June 21, 2014

ทบทวนงาน การอ่าน

นักเรียน ตามที่ได้เรียนการอ่านไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  16-20 มิถุนายน 57
            ได้งาน ชิ้นงานที่ 1  (หนังสือที่จะนำมาทำคำถาม เป็นหนังสืออ่านนอก เวลาที่นักเรียนเลือกมาอ่านคะ) รายละเอียดของงานมีตามนี้

         
         2. ครูจะสอบการอ่าน 10 คะแนน ในสัปดาห์นี้ คือ ระหว่างวันที่ 23-27 มิถุนายน 2557 (กิจกรรมการสอบ ให้นักเรียนอ่าน และตอบคำถามจากที่อ่าน )
         3. นักเรียน ห้อง 6/4-6/5 สอบเช่นกัน ทั้งการอ่าน และวรรณคดี บทที่1 (แจ้งแล้วในห้องเรียน)
สรุปวรรณคดี บทที่ 1

ชมรมคนรักวรรณคดีชาลีคิดถึงผมแกละในโลกของวรรณคดีดอตคอม  เขาจึงเขียนจดหมายหาผมแกละ และเล่าว่าเขาจินตนาการว่าตนเองกำลังท่องอยู่ในสวนแห่งวรรณคดี ได้ยินเสียงอ่านบทกวีเป็นท่วงทำนองเสนาะ  และมีภาพตัวละครผุดขึ้นในความคิดเมื่อเขาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๖  ชาลีได้อ่านหนังสือมากขึ้นโดยใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้  และค้นพบความจริงว่าหนังสือวรรณคดีมีความน่าสนใจ  มีเนื้อหาที่สนุกสนาน  ได้เห็นตัวอย่างของการใช้ภาษาและมีคติข้อคิดที่ดีชาลีคิดคิดที่จะก่อตั้งชมชมรมคนรักวรรณคดี  โดยมีมะปรางเป็นคนตั้งชื่อชมรมให้และทำหน้าที่เป็นเลขานุการ  ส่วนชาลีเป็นประธานชมรม  ทั้งสองคนได้ไปเชิญคุณครูจันทร์ฉายให้มาเป็นที่ปรึกษาของชมรมคนรักวรรณคดี
ชาลีและมะปรางได้ทำประกาศเชิญชวนไปติดไว้ที่โรงเรียน  โดยมีสมาชิกกลุ่มแรกที่มาสมัคร  ๙  คน ทั้งหมดอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖  กิจกรรมแรกที่คิดจะดำเนินการ  คือ  “ช่วยกันอ่าน  วานมาฟัง” 

ความรู้เพิ่มเติมวรรณคดี   มีความหมายว่า   หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีมีวรรณกรรมศิลป์ กล่าวคือ มีลักษณะเด่นในการใช้ถ้อยคำภาษา  และเด่นในการประพันธ์ ให้คุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้อ่าน สามารถใช้เป็นแบบฉบับอ้างอิงได้หนังสือที่ยอมรับว่าเป็นวรรณคดี  ได้แก่ หนังสือรุ่นเก่าซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าแม้เวลาจะล่วงเลยไปเป็นร้อยๆ ปี ก็ยังมีคุณค่า สามารถชี้ลักษณะเด่นได้ เช่น บทเสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน  ลิลิตพระลอ  บทแห่ชมปลา  เป็นต้น
ข้อสำคัญเป็นหนังสือที่เหมาะแก่คนอ่านทุกวัย ยิ่งคนอ่านมีประสบการณ์มากก็ยิ่งได้รับอรรถรสเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้เขียนแต่งขึ้นอย่างประณีตและกลั่นกรองเรื่องราวมาจากประสบการณ์ของชีวิต

Monday, June 16, 2014

ชิ้นงานการเขียนประกาศ

 ชิ้นงานการเขียนประกาศ  เป็นงานกลุ่ม
นักเรียนทำได้ดีมาก  โปรดสังเกตทุกประกาศต้องครบองค์ประกอบ ทั้ง 4 ด้าน





ชิ้นงานสรุปคำนาม

จะเห็นได้ ว่านักเรียน สามารถสร้างงานได้สวยงาม และมีการจัดความรู้ออกเป็นหมวดหมู่ช่วยให้
ทำความเข้าใจได้อย่างง่าย







งานที่ดี บางครั้งทำด้วยการเขียนก็ออกมาเป็นงานที่น่าสนใจได้ไม่น้อย

Sunday, June 8, 2014

ตังอย่างงาน lecture นักเรียน

การให้นักเรียนฝึกเขียนบันทึก สรุปความจากที่ครูสอนในห้อง
เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่ต้องการให้นักเรียน เรียนรู้ในการหมวดหมู่เรื่องที่เรียน
และเข้าใจภาพรวมของเรื่องที่เรียนได้ชัดเจน และจำได้ง่ายจากการได้เขียนเอง
มีรูปแบบสวยงาม



จากการเขียนในสมุด ลงสู่การทำงานในกระดาษเอ4   ใช้ความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยี
ช่วยทำให้ช้ินงานนักเรียนน่าสนใจ มากขึ้น   รวมทัังนักเรียนผู้สร้างผลงานได้รับความสุขจาการทำงาน





ตัวอย่างงาน

 นักเรียน โปรดตรวจสอบงานของนักเรียน ทั้งที่เป็นชิ้นงาน และงานในสมุดให้มีความถูกต้องสวยงาม
ตรงตามวัตถุประสงค์ ครูให้ตัวอย่างไว้บ้างแล้วดังนี้
ครูจะพยามหาตัวอย่างเพิ่มมากขึ้น และหาคำแนะนำเพิ่ม เพื่อให้นักเรียนที่ทำงานดีอยู่แล้ว ทำงานได้ดีมากขึ้น 

อีกตัวอย่างงาน การจด บันทึก (lecture) วิชาหลักภาษาไทย






อีกตัวอย่างของงานหลักภาษาไทย เรื่องคำนาม


Wednesday, June 4, 2014

ทบทวนงานการอ่าน และงานหลัก+วรรณคดี

นักเรียนโปรดตรวจสอบงานที่
ที่ได้สั่งแล้ว ทั้งหมด ควรทำอะไรบ้าง


งานหนังสือนอกเวลา
สั่งเมื่อ 3-6 มิถุนายน 2557

นักเรียนที่เรียนการอ่านทุกคน ต้องไม่ลืมนำหนังสือการอ่านนอกเวลามานะคะ พร้อมทั้งคำถาม 1 คำถาม คิดเองจากหนังสือที่นำมา (กิจกรรมในห้อง ครูจะตรวจเช็คว่าหนังสือ ตรงตามกำหนดไหม เช่น 200 หน้า . ไม่ใช่หนังสือการ์ตูน และไม่ใช่นิทานสำหรับเด็กเล็กๆ ) คำแนะนำ คือ ควรเลือกหนังสือที่ได้รับรางวัล ไม่ว่าจะเป็นหนังสือไทย หรือหนังสือแปล


Tuesday, June 3, 2014

กาพย์เห่เรือ ตอนเห่ชมปลา



ตามที่นักเรียนได้ศึกษาบทเห่ชมปลาในห้องเรียนแล้วนั้น
ถ้านักเรียน ยังสงสัย และหาคำตอบไม่ได้ นักเรียนควรเปิด วีดีโอ
และศึกษาตามอีกครั้ง

ระพิน

คำถามท้ายเรื่อง



   นักเรียน ตอบคำถาม ลงในสมุดภาษาไทย ส่งครูได้ในวันที่เรียน หรือส่งก่อนก็ได้

   ในห้องพักครู  ขอให้รวบรวมมาส่ง
                                           ระพิน ชูชื่น

กาพย์เห่เรือ ตอนเห่ชมปลา



ครูให้นักเรียนตอบคำถามจากเรื่องทีได้ชม
ทั้งนี้ครูต้องให้นักเรียนเขียนคำถามก่อน เพื่อจะได้ทราบจุดมุ่งหมายของเรื่องที่จะฟัง
และจะทำให้ตั้งเรียนตั้งใจมากขึ้น


ผลการเรียนรู้
1. นักเรียนได้รียนรู้ ถึงลักษณะของบทเห่ชมปลา และเห็ฯความไพเราะ  จากคำประพันธ์
2. ทำให้นักเรียนรู้จักสังเกต วิเคราะห์เปรียบเทียบคำ ช่างสังเกต และมีความรู้รอบตัว
ในเรื่องของปลาและ ธรรมชาติของปลาชนิดต่างๆ
3. นักเรียนได้เห็นถึงวัฒนธรรม ประเพณีในสมัยโบราณ ในเรื่องของการเดินทาง

Monday, June 2, 2014

รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์

รายวิชาภาษาไทย 1/2557

นักเรียนและผู้ปกครองที่สนใจต้องการทราบ
เกียวกับเน้ือหาวิชาที่สอนในเทอมนี้ สามารถดูได้จากรายวิชาที่ลงไว้ในนี้คะ

โรงเรียนสาธิต พิบูลบำเพ็ญมหาวิทยาลัยบูรพา
ประมวลรายวิชา (Course syllabus)

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย                                        ชั้นประถมศึกษาปีที่6                         รายวิชา เลือก
รหัสวิชา  16201                                                                  ชื่อรายวิชา ภาษาไทย
จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์                                                  จำนวน 40 ชั่วโมง/ปีการศึกษา        
           อาจารย์ ผู้สอน   ผศ. ระพิน  ชูชื่น              
คำอธิบายรายวิชา               
         อธิบายคำ รู้จุดมุ่งหมายในการอ่าน การตั้งคำถามเพื่อให้ค้นหาคำตอบ การสนทนาเกี่ยวกับเค้าโครงเรื่องที่จะให้อ่าน สนทนาเกี่ยวกับภาพ หรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องที่อ่าน กำหนดเนื้อหาและเวลาอ่านอย่างเหมาะสม มีกิจกรรมต่อเนื่องหลังจากการอ่าน เขียนสรุปเรื่องราวเพื่อทดสอบความเข้าใจ    อ่านออกเสียงซ้ำในเนื้อหา ลำดับเหตุการณ์ในเรื่องที่อ่าน เล่าโดยใช้คำพูดของตนเอง การบอกเล่า        ความทรงจำจากการอ่านในสิ่งที่เฉพาะเจาะจงได้  บอกข้อเท็จจริง รายละเอียด ชื่อ สถานที่ เหตุการณ์ วันที่  ปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อเสนอแนะหลังการอ่านได้ รู้จักแยกข้อเท็จจริง ความคิดเห็น
หรือจินตนาการได้      รวมข้อมูลใหม่กับข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้ การเลือกความหมายที่ถูกต้องและนำไปใช้ได้ อ่านเพื่อเก็บใจความสำคัญ อ่านเพื่อศึกษารายละเอียดที่สำคัญ อ่านเพื่อศึกษาคำแนะนำต่าง ๆ อ่านเพื่อคาดการณ์ อ่านเพื่อศึกษาคุณค่า
ของสิ่งที่อ่าน การวิเคราะห์ ตลอดจนมีการประเมินคุณค่าของหนังสือ
โดยใช้กระบวนการอ่าน  กระบวนการคิดวิเคราะห์และสรุปความ กระบวนการแสวงหาความรู้  กระบวนการกลุ่ม  การประเมินค่า กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการสื่อความ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการเขียน  การฝึกปฏิบัติ  อธิบาย บันทึก การตั้งคำถาม  ตอบคำถาม ใช้ทักษะการฟัง  การดูและการพูด  พูดแสดงความคิดเห็น  กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด 
เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจและสื่อสารได้ถูกต้อง มีมารยาทในการอ่าน เขียน ฟัง ดู และพูด สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีนิสัยรักการอ่านหนังสือ มีเจคติที่ดีต่อภาษาไทยและภูมิใจในภาษาไทย       


             ผลการเรียนรู้
1.สามารถ สรุปความ ตีความ หรือเข้าใจในสิ่งที่อ่านได้อย่างถ่องแท้
2.เข้าใจความสำคัญขององค์ประกอบของการอ่าน
3.สามารถเขียน สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านพร้อมยกเหตุผลประกอบได้
4.อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเพื่อประยุกต์ใช้        ในชีวิตจริงได้
5.พูดแสดงความคิดเห็น  กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด  เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สื่อสารได้ถูกต้อง
6.  อ่านออก อ่านคล่อง อ่านเข้าใจเรื่อง อ่านแยกแยะชนิดของข้อความ อ่านแล้วตีความหรือวินิจฉัยสาระได้    
       7สามารถบอกคุณค่า และแนวคิด ของเรื่องที่อ่านได้
       8.  รู้จักเลือกหนังสืออ่าน ที่เหมาะสม และสร้างนิสัยที่ดีในการอ่าน           
       9.  สามารถวิเคราะห์ทรรศนะของผู้แต่งและเนื้อหาได้
      10.  สามารถพิจารณาทั้งจุดดีและจุดด้อยของหนังสือด้วยใจเป็นธรรม ปราศจากอคติ

รวมทั้งหมด                   10        ผลการเรียนรู้

4. การวัดและประเมินผล

4.1  อัตราส่วนของคะแนนวัดผลระหว่างเรียน กับ คะแนนวัดผลปลายภาคเรียน  70:30 ดังนี้
4.2 การวัดผลระหว่างภาคเรียน                                                                       70 %
                                4.1.1 ชิ้นงาน และการปฏิบัติ                                                           50 %
4.1.2 การสอบย่อย                                                                              10 %
4.1.3 การตรวจแบบฝึกหัด /สมุดจดงาน                                        5 %
4.1.4 คะแนนกลุ่ม                                                                               5%
       4.2 การวัดผลปลายภาคเรียน                                                                   30 %

5.   เอกสาร/ตำรา ประกอบการสอนและหนังสืออ่านประกอบ

1.  เว็บภาษาไทย ป.6  ของอาจารย์ ระพิน ชูชื่น   http://teacherrapin.blogspot.com/
              2.  E-book ภาษาไทย ป.6 ของ อาจารย์ ระพิน ชูชื่น (สามารถโหลดได้ จาก https://app.box.com/s/xkiwt4c75nw3wsn7yox5 )
             3.  เอกสารประกอบการสอน จากสื่อออนไลน์
6.   เกณฑ์การประเมินผล
                ต่ำกว่า 50 %                         ได้เกรด    0                          50 % - 54 %                       ได้เกรด    1
                55 % - 59 %                        ได้เกรด    1.5                       60 % - 64 %                        ได้เกรด    2
65 % - 69 %                        ได้เกรด    2.5                       70 % - 74 %                        ได้เกรด    3
75 % - 79 %                        ได้เกรด    3.5                       80 % ขึ้นไป                            ได้เกรด    4