จากแบบฝึกหัดท้ายบทวรรณคดีหน้า 101 ชวนคิดชวนคุย ข้อที่ 1 -2 ที่ให้นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องใด ที่มีคำสอนเหมือนกันกับ สุภาษิตสอนหญิง ดังนั้นครูเลยหาตัวอย่างมาให้ดูตามข้างล่างนี้ ส่วนความหมายของคำว่าวรรณคดี ได้สอนในห้องแล้ว ขอทบทวนดังนี้
เช่นเดียวกันในข้อที่ 2 คำถามเกี่ยวกับวรรณกรรม ที่มีคำสอน นักเรียนก็สามารถหาได้จาก
งานเขียนในปัจจุบัน เช่นบทสอนในเรื่อง ทองเนื้อเก้า หลวงตา ลูกอิสาน ความสุขของกระทิ
วรรณคดี หมายถึง หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ส่วน การวิจักษ์ หมายถึง ที่รู้แจ้ง ที่เห็นแจ้ง ฉลาดมีสติปัญญา เชี่ยวชาญ ชำนาญ โดยรวม การวิจักษ์วรรณคดี จึงหมายถึง การอ่านวรรณคดีโดยใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง กลั่นกรอง แยกแยะและแสวงหาเหตุผลเพื่อประเมินคุณค่าของวรรณคดีอย่างมีเหตุผล และพิจารณาได้ว่าหนังสือแต่ละเรื่องแต่งดีแต่งด้อยอย่างไร ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาได้ไพเราะหรือลึกซึ้งเพียงใด ให้คุณค่า ความรู้ ข้อคิดและคติสอนใจหรือถ่ายทอดให้เห็นสภาพชีวิต ความคิด ความเชื่อขอคนในสังคมอย่างไร ส่วนการวิจารณ์วรรณคดีนั้น เป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดีที่อ่าน แล้วสามารถบอกได้ว่าวรรณคดีเรื่องนี้ดีหรือไม่ดี ชอบหรือไม่ชอบอย่างไร ต้องมีเหตุผลประกอบ ยกตัวอย่างวรรณคดี ที่เป็นประเภทคำสอนก็มีดังนี้ วรรณคดีคำสอน มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปประพฤติปฏิบัติ เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากหลักธรรมทางศาสนา เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ สุภาษิตสอนหญิง สวัสดิรักษาคำกลอน โคลงพาลีสอนน้อง จากเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น
นางกอดจูบลูบหลังแล้วสั่งสอน
No comments:
Post a Comment