Teaching Thai

Teaching Thai
Rapin Chuchuen

Saturday, October 17, 2009

ประมวลการสอนวิชาภาษาไทยชั้นป.6

สวัสดีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน
อาจารย์ได้นำความรู้ และข้อมูลที่ควรรู้ในการเรียนวิชาภาษาไทยในชั้น ป.6 มาให้นักเรียนได้ศึกษา และเตรียมตัวในการเรียน และในการสอบ ก่อนอื่นต้อมารู้จักกับธรรมชาติวิชา และขอบข่ายของเนื้อหาที่เราจะเรียนกัน

โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
ประมวลรายวิชา (Course syllabus)
ชื่อวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท16101 สาระการเรียนรู้ □ พื้นฐาน □ เพิ่มเติม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย จำนวน 400ชั่วโมง/ปีการศึกษา ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2552 อาจารย์ผู้สอน ผศ.ระพิน ชูชื่น
--------------------------------------------------------------------------------------
1 .คำอธิบายรายวิชา
อ่านออกเสียง อ่านในใจ แล้วบอกความหมายของคำ การอ่านร้อยแก้ว ร้อยกรอง สำนวน โวหารการบรรยาย การพรรณนา การเปรียบเทียบ การใช้บริบท การใช้แผนภาพความคิดพัฒนาการอ่านนำการอ่านไปใช้ในการ คาดการณ์ ค้นคว้า จำบทร้อยกรองที่มีคุณค่า เลือกอ่านหนังสือ สื่อ สารสนเทศสิ่งตีพิมพ์ สื่ออิเลคทรอนิกส์ เขียนเรียงความ ย่อความ จดหมาย สื่อสาร รายงาน เขียนเรื่องราวจากเหตุการณ์ต่างๆ จากเรื่องจริง และจิตนาการ เขียนบันทึกประจำวัน ข้อความเรื่องราว ที่จะแสดงความรู้สึกความคิด ใช้กระบวนการเขียนพัฒนางานเขียน จดบันทึกความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ และเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวัน การใช้แผนภาพโครงเรื่อง แผนภาพความคิด โครงงานภาษาไทย ฟังและดุ และจับใจความสำคัญ เข้าใจเนื้อเรื่องถ้อยคำ จับประเด็น สรุปความสำคัญ แยกข้อเท็จจริง กับความคิดเห็น ตั้งข้อสังเกต เปรียบเทียบกับประสบการณ์ตรง พูด สนทนา โต้ตอบ อภิปราย เชื้อเชิญ ชักชวน ปฏิเสธ ต่อหน้า ชุมชน พูดรายงาน วิเคราะห์ ใช้ภาษาและถ้อยคำที่เหมาะสม ตั้งความถามและตอบคำถาม ได้เหมาะสม อ่าน และเขียนสะกดคำประโยคสื่อสาร ใช้ภาษาในการในการสนทนา เชื้อเชิญ ชักชวย ปฏิเสธ ชี้แจง เข้าใจภาษาไทย และคำไทยที่มาจากต่างประเทศ บทร้อยกรอง กาพย์ โคลง กลอน สักวา คำราชาศัพท์ สำนวน โวหาร คำไทยทั้ง 7 ชนิด ตำนานพื้นบ้าน คำมูล คำประสม โครงงานภาษาไทย ตัวเลขไทย คำเป็น และ คำตาย เข้าใจภาษาพุดและภาษาเขียน ใช้ทักษะทางภาษาในการเขียน แสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาความรู้และใช้ภาษาได้เหมาะสมกับบุคลคล และสถานการณ์ เป็นประโยชน์ ต่อส่วนรวม สอดคล้องกับประเพณี วัฒนธรรม ใช้ภาษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ พัฒนาการอ่านและการเขียนเห็นคุณค่าของตัวเลขไทย และใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียน อ่านนิทานเรื่องสั้น สารคดี บทความ บทร้อยกรอง เชื่อมโยงความรู้กับประสบการณ์ใช้หลักการพิจารณาวรรณกรรม สิ่งพิมพ์ วรรณคดี ที่มีคุณค่าไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีวิจารณญาณ การศึกษา ค้นคว้า มีคุณธรรม มีมารยาทในการอ่าน เขียน ฟัง พูด ดู มีนิสัยรักการอ่าน เขียน ใฝ่รู้ มีเจตคติที่ดี ต่อภาษาไทย นำคุณค่าในการอ่าน และเขียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และมีเจตคติที่ดีต่อภาษาไทย ตระหนักในคุณค่าเอกลักษณ์ ของความเป็นท้องถิ่นและความเป็นไทย เลือกอ่านหนังสือได้หลากหลายทั้ง นิทาน ตำนาน เรื่องสั้น สารคดี บทความ บทร้อยกรอง และบทละคร แสดงความคิดเห็น วิจารณ์ วิเคราะห์ ใช้หลักการพิจารณาวรรณคดี วรรณกรรมอย่างเห็นคุณค่า และนำไปใช้ในชีวิตจริงได้
ตัวชี้วัด ภาษาไทย ป.6
การอ่าน
๑. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและ บทร้อยกรองได้ถูกต้อง
๒. อธิบายความหมายของคำ ประโยคและข้อความที่เป็นโวหาร
๓. อ่านเรื่องสั้นๆ อย่างหลากหลายโดยจับเวลาแล้วถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
๔. แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน
๕. อธิบายการนำความรู้และความคิด จากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหา ในการดำเนินชีวิต
๖. อ่านงานเขียนเชิงอธิบาย คำสั่ง ข้อแนะนำ และปฏิบัติตาม
๗. อธิบายความหมายของข้อมูล จากการอ่านแผนผัง แผนที่ แผนภูมิ และกราฟ
๘. อ่านหนังสือตามความสนใจ และอธิบายคุณค่าที่ได้รับ
๙. มีมารยาทในการอ่าน
การเขียน
๑. คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด และครึ่งบรรทัด
๒. เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้องชัดเจน และเหมาะสม
๓. เขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน
๔. เขียนเรียงความ
๕. เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน
๖. เขียนจดหมายส่วนตัว
๗. กรอกแบบรายการต่างๆ
๘. เขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์
๙. มีมารยาทในการเขียน
การฟัง การดู และการพูด
๑. พูดแสดงความรู้ ความเข้าใจจุดประสงค์ของเรื่องที่ฟังและดู
๒. ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผล จากเรื่องที่ฟังและดู
๓. วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูสื่อโฆษณาอย่างมีเหตุผล
๔. พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู และการสนทนา
๕. พูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผล และน่าเชื่อถือ
๖. มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
หลักการใช้ภาษาไทย
๑. วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
๒. ใช้คำได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
๓. รวบรวมและบอกความหมายของ คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย
๔. ระบุลักษณะของประโยค
๕. แต่งบทร้อยกรอง
๖. วิเคราะห์และเปรียบเทียบสำนวนที่เป็นคำพังเพย และสุภาษิต
วรรณคดีและวรรณกรรม
๑. แสดงความคิดเห็นจากวรรณคดี หรือวรรณกรรมที่อ่าน
๒. เล่านิทานพื้นบ้านท้องถิ่นตนเอง และนิทานพื้นบ้านของท้องถิ่นอื่น
๓. อธิบายคุณค่าของวรรณคดี และวรรณกรรมที่อ่านและนำไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
๔. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

No comments:

Post a Comment