Teaching Thai

Teaching Thai
Rapin Chuchuen

Tuesday, January 17, 2012

งานวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 2/ 2554

สวัสดีนักเรียนทุกคน
         ตามที่ครูได้โทรแจ้งผู้ปกครองนักเรียนเรื่องการไม่ส่งงานของนักเรียนไปแล้วนั้น ผู้ปกครองหลายท่าน ต้องการทราบว่างานแต่ละชิ้นมีอะไรบ้างและมีวิธีการทำอย่างไร ครูเชื่อว่านักเรียนสามารถอธิบายให้ผู้ปกครองทราบได้ว่างานแต่ละชิ้นทำอย่างไร แต่เพื่อความสะดวกและความถูกต้อง ครูจึงขอนำรูปแบบและวิธีการทำชิ้นงานทั้ง ๑๐ ชิ้นงานขึ้น เว็ปไซต์ให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบอีกครั้ง


ชิ้นงานที่ 1 : บทความหรือจดหมายวันปิดเทอม


รูปแบบ ให้นักเรียนเขียนบทความหรือจดหมาย เกี่ยวกับเรื่องวันปิดเทอม ว่านักเรียนไปทำอะไรมาบ้าง มีกิจกรรมหรือเหตุการณ์ใดที่ประทับใจและอยากเล่าให้เพื่อนฟัง เน้นการเขียนแบบความเรียง






ชิ้นงานที่ ๒ : สำนวนจากสื่อ


รูปแบบ ให้นักเรียนหาข่าวหรือนิทานหรือบทละครโทรทัศน์ แล้วให้นักเรียนหาสำนวนจากเรื่องที่อ่านว่าในข่าวนั้น มีเหตุการณ์ตรงกับสำนวนใด






ชิ้นงานที่ ๓ : โวหารจากบทเพลง


รูปแบบ ให้นักเรียนหาเพลงที่ชอบฟัง แล้วมาระบุว่า เพลงนั้นมีโวหารประเภทใดประกอบบ้าง พร้อมทั้งยกตัวอย่างออกมาให้ชัดเจน






ชิ้นงานที่ ๔ : ใบเลือกอ่านหนังสือ


รูปแบบ ให้นักเรียนเลือกหนังสืออ่านนอกเวลา ๑ เรื่อง มีความหนาไม่ต่ำกว่า ๑๘๐ หน้า แล้วนักเรียนก็เขียนใบเลือกอ่านหนังสือมาส่งครู






ชิ้นงานที่ ๕ : ใบบันทึกการอ่าน


รูปแบบ ให้นักเรียนอ่านหนังสือนอกเวลาที่เลือกอ่าน แล้วบันทึกลงในใบบันทึกการอ่าน มีทั้งหมด ๑๔ หัวข้อ แล้วนำมาส่งครู ทั้งนี้นักเรียนต้องให้เหตุผลประกอบการอธิบาย หรือ ยกตัวอย่าง เหตุการณ์ ต่างๆ ในเรื่องที่อ่านประกอบ เช่น ชอบ ไม่ชอบ เพราะอะไร ทำไม






ชิ้นงานที่ ๖ : POP UP ศึกสายเลือด


รูปแบบ ให้นักเรียนเลือกบทกลอนที่ประทับใจจากวรรณคดีเรื่องศึกสายเลือด จำนวน ๒ บท จากนั้นให้หาภาพประกอบเหตุการณ์ตามบทกลอนที่เลือกมา พร้อมทั้งหาคำแปลของบทกลอนที่เลือก และหาคำศัพท์สำคัญจากบทกลอนที่อ่านจำนวน ๕ คำ พร้อมคำแปล








ชิ้นงานที่ ๗ : โวหารจากหนังสือที่อ่าน(หนังสือนอกเวลา)


รูปแบบ ให้นักเรียนหาโวหารจากหนังสือที่อ่าน (หนังสือนอกเวลา) ว่ามีโวหารประเภทใดบ้าง ให้นักเรียนยกตัวอย่างมาประกอบให้ชัดเจน ซึ่งในงานนี้นักเรียนจะผ่านการเรียน เรื่องสำนวน และโวหารแล้ว และลองพิจารณาดูว่าหนังสือ ที่เลือกอ่าน นั้นมีข้อความ หรือประโยคใด สะท้อนให้เห็นถึงโวหารบ้าง

หมายเหตุ นักเรียนบางคนไม่เห็นโวหาร ในหนังสือ เช่น 1.การพรรณาโวหาร ขอให้วิเคราะหืให้ได้ ว่าสิ่งที่ผู้แต่งเขียนไว้ สะท้อนให้เห็นความรู้สึกนีกคิด อารมณ์ของตัวละคร หรือไม่ ถ้ามีนั่นคือการพรรณนา ไม่จำเป็นต้องเป็นคำกลอนเสมอไป
2. การเทศนาโวหาร จะมาจากบทสรุปของเรื่อง ที่จะบอก หรือสอนเรา ว่าให้เป็นคนอย่างไร มีข้อคิด คติสอนใจ 






ชิ้นงานที่ ๘ : กลอนวันปีใหม่



รูปแบบ ให้นักเรียนแต่งกลอนแปดจำนวน ๒ บท เกี่ยวกับวันปีใหม่ และให้หาการ์ดวันปีใหม่หรือจะประดิษฐ์การ์ดขึ้นเองก็ได้ จากนั้นเขียนหรือพิมพ์กลอนลงในการ์ดแล้วนำมาส่งครู






ชิ้นงานที่ ๙ : จดหมายธุรกิจ


รูปแบบ ให้นักเรียนเขียนจดหมายธุรกิจสั่งซื้อหนังสืออ่านนอกเวลาจากบริษัทเจ้าของหนังสือที่นักเรียนอ่าน โดยระบุจำนวนหนังสือที่สั่งซื้อตามจำนวนนักเรียนในห้อง และบอกเหตุผลว่าทำไมถึงเลือกหนังสือเล่มนี้ พร้อมทั้งบอกข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสือที่เลือกด้วย รวมทั้งสอบถามถึงวิธีการจ่ายเงิน วิธีการส่งของ หรือ ราคาของสินค้า






ชิ้นงานที่ ๑๐ : สมุดมิตรภาพ


รูปแบบ ให้นักเรียนซื้อสมุด Friendship หรือจะทำเองก็ได้ แล้วนำมาออกแบบประวัติส่วนตัวให้น่าสนใจ ไม่เหมือนคนอื่น จากนั้นนำไปให้เพื่อนไม่ต่ำกว่า ๑๐ คนเขียนแสดงความรู้สึกต่อตัวเรา จากนั้นจึงนำมาส่งครู แต่ถ้าเป็นไปได้ น่าจะทำให้ครบทั้งห้องเพื่อจะได้เก็บไว้เป็นที่ระลึก
วิธีการนำมาส่ง 1. ขอให้ถ่ายเอกสารแผ่นหน้าที่เป็นตัวเรา และ
2. ถ่ายตัวอย่างของแผ่นในที่เป็นข้อความเขียนของเพื่อน(เลือกดีที่สุด) มา 1 คน  และอย่าลืมนำเล่มต้นฉบับมาด้วย (ครูจะส่งคืนหลังตรวจแล้ว แต่แผ่นเอกสารจะให้คะแนน และนักเรียนนำไปใส่ไว้ในแฟ้ม คืองานชิ้นที่ 10


ในกรณีที่นักเรียนอยากเขียนถึงครู อาจจะเขียนในหัวข้อ ๑ ปีที่มีครู เขียนเกี่ยวกับครุผู้สอนวิชาภาษาไทยก็ได้

การให้คะแนน ของครู จะมองที่รูปแบบของการเขียนข้อมูลแนะนำตนเอง  และการพูด หรือกล่าวถึงจุดประสงค์ ของการมีสมุดมิตรภาพ  งานเขียนของเพื่อน หรือ อาจารย์ ใน๑๐ คนเพื่อจะดู ว่านักเรียนได้รับข้อมูล ตามวัตถุประสงค์ หรือไม่ รวมทั้งความสดใส น่ารัก หรือ สำนวนที่มาจากงานเขียนที่เป็นธรรมชาติ ของนักเรียน
ตัวอย่างงาน

 
   


ขอให้นักเรียนตั้งใจทำงานและส่งงานให้ครบ เนื่องจากงานนี้จะเป็นคะแนนเก็บในวิชาภาษาไทยของนักเรียน ครูไม่อยากให้นักเรียนของครูได้คะแนนน้อยและไม่ผ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

ขอชื่นชมนักเรียนที่ทำงานครบและขยันอีกทั้งตั้งใจเรียนทุกคน ขอให้เป็นนักเรียนที่ดีและน่ารักของครต่อไป




                                                              รักและปรารถนาดี






                                                               ผศ.ระพิน ชูชื่น






                                                     อาจารย์ประจักษ์ น้อยเหนื่อย








No comments:

Post a Comment